หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Arts and Cultural Innovation
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ศป.บ. (นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Fine and Applied Arts (Arts and Cultural Innovation)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.F.A. (Arts and Cultural Innovation)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา /คณะ/สาขาวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะ/สาขาวิชา คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลปและออกแบบนิเทศศิลป
ข้อมูลหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทักษะ คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ บูรณาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ที่มีคุณสมบัติดังนี้
-
เป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีและมีทักษะปฏิบัติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีเหมาะสมและหลากหลาย สร้างผลงานที่มีความแตกตาง มีความท้าทาย สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม
-
เป็นนักบริหารจัดการทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีกระบวนการขั้นตอนการบริหารจัดการศิลปะและวัฒนธรรม สามารถกําหนดกลยุทธ์และบริหารจัดการศิลปะวัฒนธรรมไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และเป็นมืออาชีพในด้านการบริหารจัดการศิลปะและวัฒนธรรม
-
เป็นนักประยุกต์ส่งเสริม และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม ที่สามารถใช้ศิลปะและวัฒนธรรมเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการในบริบทที่มีความหลากหลาย ทั้งชุมชน สังคม ธุรกิจ หรือสถานการณ์ที่ท้าทาย มีทักษะทาง ด้านเทคโนโยลีดิจิทัล ทักษะผู้ประกอบการสร้างสรรค์มีความรอบรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีทัศนคติที่เคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมทองถิ่นและโลก มีคุณธรรมและจริยธรรมในบทบาทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
-
นักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมในหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สํานักงานด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
-
นักวิจัยทางศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในด้านวัฒนธรรม เช่น UNESCO, IUCN, World Heritage Center, World Bank, UNWTO เป็นต้น
-
ผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์ภาพยนตร์ สื่อออนไลน์ และสื่อสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม
-
ผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
-
ผู้ประกอบกิจการสตาร์ทอัพด้านศิลปวัฒนธรรม